หนึ่งในตัวกันแดดที่หลายคนมีติดรถยนต์ไว้นั่นคือ ม่านบังแดด อุปกรณ์ที่ช่วยลดความร้อน จากแสงแดดและลดแสงจ้าที่ส่องเข้ามาภายในรถ ซึ่งส่งผลเสียต่อรถยนต์ ผู้ขับขี่ และผู้โดยสารคนอื่นมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานตามความสะดวก
ทั้งม่านแบบทึบสีเงิน และม่านแบบโปร่งแสง ที่เป็นลักษณะเหมือนตาข่ายสีดำ เมื่อมองดูจากภายนอกวัสดุที่ใช้ดูเหมือนเป็นแค่ผ้าธรรมดา แต่ความจริงเวลาเรานำมาใช้งานในรถยนต์ ซึ่งบางครั้งใช้งานภายใต้อุณหภูมิที่สูงมากเกือบ 60 องศาเซลเซียส เราเลยต้องแน่ใจว่าวัสดุที่นำมาทำม่านบังแดดต้องดีมีคุณภาพพอ
เช่นเดียวกับอุปกรณ์อื่นๆที่ต้องมีการทดสอบการใช้งาน ก่อนที่จะผลิตออกมาจำหน่าย สำหรับม่านบังแดดนั้น คุณสมบัติหลักคือสามารถกรองแสง ยังมีประโยชน์อีกมากมายที่ช่วยรักษาสภาพอุปกรณ์ภายในของรถ ทั้งยังช่วยบังสายตาจากภายนอก ที่เห็นบ่อยๆคือแบบทึบและแบบโปร่งแสง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน วัสดุที่ใช้มีตั้งแต่
ผ้าไวเทค-ดูปองท์ สะท้อนรังสียูวีได้ถึง 90%
ผ้าซิลเวอร์โค้ต กันแดดและสะท้อนรังสียูวีได้ถึง 70%
ผ้าไนล่อนเงิน สามารถสะท้อนความร้อนได้เป็นอย่างดี
PVC แบบสุญญากาศ แนบติดกระจกและสามารถเลื่อนขึ้นลงได้
เส้นใย Polyester มีความเหนียว ยืดหยุ่น แข็งแรง ทนต่อกรดอ่อน เส้นใยชนิดนี้สามารถผสมกับเส้นใยชนิดอื่นได้
การที่ต้องเพิ่มคุณสมบัติในการกันยูวี ทำให้เนื้อวัสดุแข็งแรง ทนทาน และการที่ต้องขึ้นรูปโครงม่าน นอกจากนี้ยังมีการใช้หมึกพิมพ์ลวดลายการ์ตูนลงบนม่าน ล้วนต้องมีการใส่สารเคมีเพื่อเพิ่มคุณสมบัติมีการใส่สีสันต่างๆลงไป เมื่อเจอความร้อนที่มากับแสงแดด อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ที่ก่อให้เกิดไอระเหยสารเคมีที่เป็นอันตรายได้ คงไม่ดีแน่หากร่างกายค่อยๆ ซึมซับสารพิษเหล่านี้ทุกครั้งที่นั่งอยู่ในรถ สินค้าของ Groovy จึงต้องทำการทดสอบตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่า ม่านบังแดด Groovy มีความปลอดภัย และแข็งแรงทนทานเวลาใช้งาน
โดยทดสอบในช่วงค่าความยาวคลื่นแสงที่ตามองเห็น ได้ค่า 22.12% หมายความได้ว่า ม่านบังแดดยอมให้แสงผ่านแค่ 22.12%
เราก็จะรู้เลยว่าเวลาติดม่านบังแดดแล้วก็จะดูมืดๆ มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
ม่านบังแดดที่ดีนั้น นอกจากจะช่วยลดความร้อนจากแสงแดดแล้ว ต้องสามารถสะท้อนรังสี UV ที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง
และดวงตาได้อีกด้วย จากการทดสอบ UV Resistance Test ด้วยเครื่องวัดรังสี UV ม่านบังแดดสามารถสะท้อนรังสี UV ได้เกือบ 70%
สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า สาร VOCs สาร VOCs มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ระเหยเป็นไอได้ง่ายที่อุณหภูมิและความดันปกติ
ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ คุณจึงมั่นใจได้ว่าม่านบังแดด Groovy
ที่คุณเลือกซื้อ ผลิตจากวัสดุที่ปลอดภัยกับทุกคนในครอบครัว
โลหะหนักพวกนี้พบได้ง่ายจากหมึกพิมพ์ ใช้ในกระบวนชุบเคลือบโลหะเพื่อการป้องกันสนิม ซึ่งส่งผลเสีย และเป็นอันตรายต่อร่างกาย
โดยที่สามารถเข้าสู่ร่างการจากการสัมผัสหรือการสูดดม ผลคือม่านบังแดด Groovy ปราศจากโลหะหนัก
ทดสอบโดยการดมกลิ่น ที่อุณหภูมิ 20 และ 50 °C ผลคือเนื้อวัสดุไม่มีกลิ่น และได้กลิ่นเล็กน้อย เมื่อทดสอบที่อุณหภูมิ 90 °C
อุณหภูมิในรถขณะจอดรถตากแดดจะอยู่ที่ 50-60 °C เพราะฉะนั้นเนื้อวัสดุม่านบังแดดจะไม่ส่งกลิ่นรบกวนในรถยนต์
โดยการทดสอบจุดหลอมเหลว (Melting point) ของเนื้อผ้าขอบม่าน และเนื้อวัสดุม่าน ได้ค่า 254.39 และ 253.84 องศาเซีลเซียส ตามลำดับ
เพราะฉะนั้น ม่านบังแดด Groovy จะต้านทานการลุกติดไฟ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุรุนแรงแบบมีเปลวไฟ ม่านบังแดดมีการติดไฟแต่จะไม่ได้เป็นตัวที่ทำให้เกิดการแพร่ของเปลวไฟ
หรือแม้แต่การใช้งานในช่วงอุณหภูมิติดลบมากๆ ถึง -50 องศาเซีลเซียส ม่านบังแดดก็ยังคงสภาพเดิมไม่เปราะหักเสียหาย ตามผลการเทสจุดอุณหภูมิจุดเปราะ (Brittleness temperature)
ม่านบังแดดต้องเจอกับสภาพอากาศที่ร้อนมาก และการใช้งานที่ค่อนข้างบ่อย เป็นผลให้วัสดุที่ใช้ทำม่านอาจเสื่อมสภาพ ได้เร็วกว่าปกติ จากการทดสอบ Weather Resistance Test
โดยใช้ Xenon Arc Lamp ที่มีกำลังแรงสูงเกินภาวะปกติ จำลองการรับแสงจากภายนอก และรังสี UV เป็นระยะเวลา 500 ชั่วโมง ผลคือ ไม่เห็นความแตกต่างของสีม่านบังแดดอย่างชัดเจน
จากการทดสอบ Impact Test เป็นวิธีการทดสอบความเหนียวของวัสดุ ตัวม่านบังแดดผลิตจาก Polyester เกรดดีที่หนากว่าแบบทั่วไป
ผ่านการทดสอบโดยจำลอง ใช้ลูกเหล็กขนาด 50 mm หนัก 500g ทิ้งตกมากระแทกด้วยความสูง 100cm “ผลคือม่านบังแดดยังคงสภาพเดิม”
จากการทดสอบ Vibration Test นำชิ้นม่านไปเขย่าให้สั่น 500,000 ครั้ง , การทดสอบ Rotation Test นำชิ้นม่านไปหมุนแบบบิด 10,000 ครั้ง
และการทดสอบ Compression Test นำชิ้นม่านไปกดด้วยแรง 9N 10,000 ครั้ง “ผลคือม่านบังแดดยังคงสภาพเดิม”
เพราะฉะนั้นเนื้อวัสดุม่านบังแดดที่ Groovy เลือกใช้ต้องมีความแข็งแรง ทนทาน และใช้งานนานหลายปี